[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
::: โรงพยาบาลไม้แก่น จ.ปัตตานี :::

  

  หมวดหมู่ : ข่าวสารทั่วไป
เรื่อง : รพ.สต.พ้อ บันทึกข้อมูลสุขภาพแลกเงินสปสช. จนไม่มีเวลาเยี่ยมชาวบ้าน
โดย : admin
เข้าชม : 2029
อาทิตย์ ที่ 22 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2557 ปักหมุดและแบ่งปัน
     

หมออนามัยพ้อ กลายเป็นหมอหน้าจอ วันๆ จ้องแต่คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลสุขภาพแลกเงิน สปสช. จนหมดเวลาเยี่ยมชาวบ้าน เดิมลงพื้นที่ 15 วันต่อเดือนเหลือแค่ 4 วัน ชี้ไม่ควรกำหนดเงื่อนเวลา

วันที่ 17 มิ.ย.เวบไซต์ASTVผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า นายชัยณรงค์ สังข์จ่าง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) โพทะเล จ.พิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทุกแห่งกำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกันคือ หมออนามัยต้องบันทึกข้อมูลสุขภาพที่หน้าจอคอมพิวเตอร์อย่างเดียว แทนที่จะได้ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านชาวบ้านซึ่งเป็นภารกิจหลัก ต้องทำงานคัดกรองโรคต่างๆ จากสารพัดหน่วยงานที่มอบหมาย เรียกว่าเป็นการคัดกรองแห่งชาติ ทำให้เกิดค่านิยมทำงานเพื่อแลกเงิน และให้ รพ.สต. ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการรักษาพยาบาลมากขึ้นแทนที่จะเป็นหน่วยส่งเสริมสุขภาพ
       
“สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากที่เริ่มมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี 2545 ทำให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ซื้อบริการจากหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เท่ากับรับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณค่ารักษาพยาบาลและอื่นๆ ให้หน่วยบริการสังกัด สธ.รวมถึง รพ.สต.ด้วย เริ่มใช้แนวคิดเรื่องงานแลกเงิน โดยให้ รพ.สต. บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ยื่นแลกกับเงินที่ สปสช. จะจ่ายให้กับ รพ.สต. ทั้งที่ขอบเขตของการจัดการข้อมูลสุขภาพของชุมชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักสาธารณสุขนั้น ควรเป็นการใช้ข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวังสถานะสุขภาพของประชาชน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชนและเพื่อการ ข้อมูลการให้บริการสุขภาพ ไม่ใช่เพื่อใช้แลกเงิน” นายชัยณรงค์ กล่าว
       
นายอำนาจ รุ่งสว่าง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พิจิตร กล่าวว่า การบันทึกรายงานข้อมูลสุขภาพของประชาชนช่วยให้การทำงานของเจ้าหน้าที่มีความสะดวกและจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบมากขึ้น แต่การกำหนดให้การบันทึกข้อมูลเพื่อแลกกับเงินที่จะได้รับการจัดสรรจาก สปสช. โดยข้อมูลที่ต้องบันทึกมีจำนวนมากและกำหนดเวลาที่แน่นอน มิฉะนั้นจะไม่ได้เงินนั้น ส่งผลให้หมออนามัยไม่มีเวลาเหลือที่จะทำงานด้านการส่งเสริมป้องกันโรคหรือเยี่ยมชาวบ้าน จากเดิมมีเวลาเยี่ยมบ้านเดือนละ 15 วัน เหลือเพียง 4 วันเท่านั้น ส่วนตัวเห็นว่าไม่ควรบีบการทำงานด้วยการกำหนดเวลาที่ต้องส่งบันทึกข้อมูลเพื่อรับเงินและยกเลิกการบันทึกข้อมูลบางเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของหมออนามัย

อ้างอิง : http://www.hfocus.org





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

ข่าวสารทั่วไป5 อันดับล่าสุด

      นายแพทย์ซุลกิฟลี ยูโซะ แพทย์ตัวอย่างภาคใต้ประจำปี 2557 5/ส.ค./2557
      รพ.สต.พ้อ บันทึกข้อมูลสุขภาพแลกเงินสปสช. จนไม่มีเวลาเยี่ยมชาวบ้าน 22/มิ.ย./2557





ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ ิbudronkama@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป